ประวัติความเป็นมา
ตำบลบ้านโป่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภองาว ห่างออกไปประมาณ 7 กิโลเมตร มีประวัติความเป็นมาอยู่ช้านานโดยมีเรื่องเล่าติดต่อกันมาเป็นนิทานพื้นบ้าน กล่าวคือในอดีตกาลนานมาแล้วบ้านโป่งยังไม่มีนามเรียกชื่อบ้านแต่อย่างใด และหมู่บ้านแห่งนี้มีแม่ม่ายคนหนึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำโป่ง วันหนึ่งหลังจากที่นางได้ไหว้พระสวดมนต์แล้ว ก็เข้านอนได้ฝันว่ามีปลาผา (ตะพาบน้ำ) ตัวหนึ่งว่ายน้ำขึ้นฝั่งข้างบ้านของนางและร้องบอกนางว่า “ แม่นางตัวข้านี้เป็นเทพยดาอารักษ์อยู่กับภรรยาที่เป็น ลิงเผือกที่บ้านโป่ง ส่วนข้าอาศัยอยู่ที่วังผาจุกขอให้นางบอกชาวบ้านว่า หากพบเราที่ใดขออย่าได้ทำร้ายเราเลยเพราะเราถูกสาปให้อยู่ในสภาพนี้อีกไม่กี่ปีเราก็จะพ้นคำสาปแล้ว ” ครั้นรุ่งเช้า ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจับตะพาบน้ำได้บริเวณวังผาจุก นางแม่ม่ายก็พยายามอ้อนวอนขอร้องไม่ให้ฆ่าตะพาบน้ำ ชาวบ้านก็ไม่เชื่อในเรื่องที่แม่ม่ายเล่าให้ฟัง ในที่สุดชาวบ้านก็ได้ฆ่าตะพาบน้ำตัวนั้น แบ่งเนื้อกันเอาไปทำอาหารกินแถมพูดเยาะเย้ยนางแม่ม่ายด้วยว่า สูอย่าแบ่งอี่นางแม่ม่ายมันกินนะ เพราะมันปากมาก ” ฝ่ายนางลิงเผือกก็รอเวลาการกลับมาของสามี (ตะพาบน้ำ) ซึ่งเคยมาเยี่ยมทุก ๆ 7 วัน นางจึงออกติดตามยังบริเวณวังผาจุก และได้ทราบด้วยญานของตนเองว่าสามีนางนั้นได้จากไปแล้ว โดยถูกชาวบ้านฆ่าตาย จึงออกไปตามบ้านทุกหลังคาเรือนโดยการสูดดมกระบวยตักกินน้ำว่าบ้านหลังใดบ้างที่กินเนื้อสามีของตนเอง และปรากฏว่าทุกบ้านมีกลิ่นตะพาบน้ำทุกหลังยกเว้นบ้านนางแม่ม่ายใจบุญคนเดียวเท่านั้นนางลิงเผือกจึงไปที่บ้านนางแม่ม่ายและร้องบอกนางว่า “ แม่นางเอ๋ยเจ้ากับข้าหัวอกเดียวกัน หากคืนนี้มีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้นขอให้แม่ม่ายรีบหนี อย่านำเอาทรัพย์สินใด ๆ ติดตัวไปเลย พอดีลมพายุพัดแรงก็ให้นางรีบเหนี่ยวกิ่งมะพร้าวหน้าบ้านไว้ให้ดีเถิด ” ครั้นพอตกดึกก็เกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำบ้านเรือนของคนที่กินเนื้อตะพาบน้ำ พังพินาศหมดสิ้นแม้แต่บ้านเรือนของนางแม่ม่ายก็พังแต่นางได้เหนี่ยวกิ่งมะพร้าวไว้ตามคำที่ลิงเผือกบอกไว้ด้วยแรงพายุได้พัดพานางลอยข้ามไปตกยังดอยอีกแห่งหนึ่ง (ซึ่งต่อมาเรียกว่า ดอยแม่ม่าย) และในดึกคืนนั้นหนุ่มพ่อม่ายชาวบ้านหวด ที่มาติดพันนางอยู่ได้มาเที่ยวหานางเห็นบ้านเรือนถูกพายุพัดพังทลายหมดสิ้น ก็เลยอาลัยร่ำไห้ถึงนางอย่างน่าสงสาร ขณะนั้นได้มีพญางู (นาค) ลอยมาตามแรงลมและสายฝนเห็นหนุ่มร้องไห้ จึงร้องว่า “ สูได้ฆ่าลูกข้ากินไม่เกรงใจ ต่อไปจะสร้างบ้านเรือนอยู่ที่นี่ไม่ได้อีกแล้ว ” จึงพ่นพิษพญางูทำให้เกิดแผ่นดินไหวบ้านเรือนที่เหลืออยู่ได้จมลงสู่พื้นดินจนหมดสิ้น ขณะนั้นหนุ่มชาวบ้านหวดแลเห็นนางแม่ม่ายคนรักลอยตามกระแสน้ำจึงว่ายน้ำเข้าไปช่วยนางขึ้นฝั่งพากันวิ่งหนีจนหมดแรง แผ่นดินก็ยังถล่มตามมาติด ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถออกจากบริเวณหมู่บ้านได้ นางจึงหวนคิดถึงคำบอกลาของลิงเผือก นางได้ถอดแหวนโยนทิ้งไป พอแหวนตกลงดินก็ถล่มกลายเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่(ปัจจุบันเรียกว่าหนองแหวน ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในบึงบัว) เมื่อไม่มีของติดตัวแล้วแผ่นดินถล่มก็ยุติลง กล่าวถึงบริเวณที่ถล่มกลายเป็นโป่งดินที่กว้างใหญ่ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “ บ้านโป่ง ” ต่อมาได้เป็นตำบล โดยกำนันคนแรกได้แก่ เจ้าน้อยแสนเมืองชัย
ประวัติการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง ตั้งอยู่ เลขที่ 118 หมู่ 3 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในมาตรา 40 ว่า “สภาตำบลที่มีรายได้ ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตำบลที่ได้มีประกาศของ กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ การจัดตั้งองค์การบริหารตำบลให้ทำโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะต้องระบุชื่อและเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในประกาศด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”
1. สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง ตำบลบ้านโป่ง เป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภองาว ไปทางทิศใต้ 11 กิโลเมตร ตั้งอยู่ เลขที่ 118 หมู่ 3 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
เขตการปกครอง มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งทั้งหมด ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านสบเอิม
หมู่ที่ 2 บ้านใหม่
หมู่ที่ 3 บ้านสบพลึง
หมู่ที่ 4 บ้านโป่ง
หมู่ที่ 5 บ้านเป๊าะ
หมู่ที่ 6 บ้านเหล่า
หมู่ที่ 7 บ้านหาดเชี่ยว
หมู่ที่ 8 บ้านต้นมื่น
หมู่ที่ 9 บ้านโป่งพัฒนา
หมู่ที่ 10 บ้านเป๊าะทอง
หมู่ที่ 11 บ้านสันโค้งพัฒนา
หมู่ที่ 12 บ้านโป่งแก้ว
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหลวงใต้ อำเภองาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านหวด อำเภองาว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว
การจัดตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่งได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก และได้รับการปรับขนาดจากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551
พื้นที่
พื้นที่ทั้งหมดของตำบลบ้านโป่ง มีจำนวน 127.25 ตารางกิโลเมตร หรือ 79,531.25 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขามีความลาดเทเล็กน้อย จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก สภาพดินเป็นดิน ร่วนปนทรายหรือดินเหนียว ที่ดอนเป็นดินลูกรังหรือหินผาผุ
ประชากร
ตำบลบ้านโป่ง มีประชากรทั้งหมด 6,931 คน แยกเป็นชาย 3,502 คน หญิง 3,429 คน จำนวน 2,239 ครัวเรือน (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เดือนเมษายน 2557)
หมู่ที่ |
บ้าน |
ครัวเรือน (หลัง) |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
1 |
บ้านสบเอิม |
193 |
320 |
310 |
630 |
2 |
บ้านใหม่นาแช่ |
169 |
288 |
276 |
564 |
3 |
บ้านสบพลึง |
156 |
229 |
248 |
477 |
4 |
บ้านโป่ง |
218 |
269 |
287 |
556 |
5 |
บ้านเป๊าะ |
259 |
347 |
373 |
720 |
6 |
บ้านเหล่า |
190 |
358 |
340 |
698 |
7 |
บ้านหาดเชี่ยว |
149 |
227 |
191 |
418 |
8 |
บ้านต้นมื่น |
171 |
278 |
253 |
531 |
9 |
บ้านโป่งพัฒนา |
187 |
283 |
299 |
582 |
10 |
บ้านเป๊าะทอง |
217 |
352 |
325 |
677 |
11 |
บ้านสันโค้งพัฒนา |
152 |
279 |
236 |
515 |
12 |
บ้านโป่งแก้ว |
178 |
272 |
291 |
563 |
รวม |
2,239 |
3,502 |
3,429 |
6,931 |
2.สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
ส่วนใหญ่ราษฎรประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำนา ทำสวน มะม่วง ลำไย หรือทำไร่ ปลูกพืชฤดูแล้ง เช่น กระเทียม ข้าวโพด ฝ้าย ถั่วประเภทต่างๆ เพื่อไว้บริโภค และบางส่วน ที่เหลือไว้จำหน่าย แต่ราษฎรมักจะประสบปัญหาไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเองหรือมีแต่น้อย ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอหรือผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ อีกทั้งยังประสบปัญหาในเรื่องการประกันราคาจำหน่าย สถานที่แลกเปลี่ยนสินค้าบางพื้นที่ต้องอาศัยฝนฟ้าตามฤดูกาลถึงจะเพาะปลูกได้ และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปหรืออพยพย้ายถิ่นไปหางานทำในตัวเมืองหรือต่างประเทศ
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- โรงสี 12 แห่ง
3.สภาพทางสังคม
การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (ขยายโอกาส) 1 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- โรงเรียน/ สถาบันชั้นสูง - แห่ง
- ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด/สำนักสงฆ์ 6 แห่ง
- มัสยิด - แห่ง
- ศาลเจ้า 1 แห่ง
- โบสถ์ - แห่ง
- สาธารณสุข - แห่ง
- โรงพยาบาล 1 แห่ง
- สถานีอนามัย - แห่ง
- อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง
- สถานีดับเพลิง - แห่ง
หน่วยงานราชการอื่นๆ
- หน่วยงานของกรมป่าไม้ 2 แห่ง
- สำนักงานขนส่งจังหวัดลำปาง สาขางาว 1 แห่ง
4. การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน จากจังหวัดลำปางผ่านตำบลบ้านโป่งไปจังหวัดพะเยาและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 จากจังหวัดแพร่สู่ตำบลบ้านโป่ง บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ที่ หมู่ที่ 5, 10 แยกไปจังหวัดลำปางและจังหวัดพะเยาและมีถนนลาดยางของกรม ทางหลวงชนบทเลขที่ 1005 ระยะทาง 8 กิโลเมตร ผ่านเข้าหมู่บ้าน หมู่ที่ 1, 2, 3, 8 สู่ตำบลบ้านอ้อน ส่วนถนนภายในหมู่บ้านซึ่งใช้เป็นทางคมนาคมเดินทางระหว่างหมู่บ้านหรือสัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและถนนลูกรังไปสู่พื้นที่การเกษตรบางส่วน
การโทรคมนาคม
-สถานีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ 2 แห่ง
-ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
-ตู้โทรศัพท์ 9 แห่ง
-อินเตอร์เน็ตตำบล 1 แห่ง
การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย 14 แห่ง
- บึง,หนอง,สระน้ำ 4 แห่ง
แหล่งน้ำสร้างขึ้น
- ฝาย 8 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 362 แห่ง
- บ่อโยก 8 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 11 แห่ง
5.ข้อมูลอื่นๆ
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ป่าไม้ธรรมชาติหมู่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12
มวลชนจัดตั้ง
- กรรมการพัฒนาสตรีระดับตำบล (กพสต.) 1 แห่ง
- กรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน 80 คน
- ศูนย์กีฬาตำบล 1 ศูนย์
6.ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
1) จำนวนบุคลากร
สมาชิก อบต. จำนวน 24 คน และคณะผู้บริหาร อบต. จำนวน ๔ คน
ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 11 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 5 คน
ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 7 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง จำนวน 3 คน
ตำแหน่งส่วนโยธา จำนวน 3 คน
2) ระดับการศึกษาของบุคลากร พนักงานส่วนตำบล
ประถมศึกษา - คน
มัธยมศึกษา/ปวช./ปวส. 1 คน
ปริญญาตรี 10 คน
สูงกว่าปริญญาตรี 3 คน